1. ฝึกต่อวงจรโดยใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อทางแสง เช่น เบอร์ PC817
2. ประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ชนิดนี้ร่วมกับบอร์ด Arduino และใช้ควบคุมการจ่ายกระแสให้โหลด
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด) 1 อัน
2. อุปกรณ์เชื่อมต่อทางแสง PC817 1 ตัว
3. ไดโอดเปล่งแสงสีแดงหรือสีเขียว 1 ตัว
4. ตัวต้านทาน 220Ω หรือ 330Ω 1 ตัว
6. ทรานซิสเตอร์ NPN เบอร์ PN2222A 1 ตัว
7. ตัวต้านทาน 1kΩ 1 ตัว
8. ตัวต้านทาน 4.7kΩ 1 ตัว
9. ตัวต้านทาน 10kΩ 1 ตัว
10. ตัวต้านทานปรับค่าได้ 10kΩ หรือ 20kΩ 1 ตัว
11. ไดโอด 1N400x 1 ตัว
12. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงขนาดเล็ก 1 ตัว
13. สายไฟสำหรับต่อวงจร 1 ชุด
14. มัลติมิเตอร์ 1 เครื่อง
15. แหล่งจ่ายแรงดันควบคุม 1 เครื่อง
16. ออสซิลโลสโคปแบบดิจิทัล 1 เครื่อง
ขั้นตอนการทดลอง
1. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดตามรูปที่ 5.4.1 ให้สังเกตว่า ในผังวงจรมี GND1 และ GND2 แยกกันซึ่ง
จะต้องไม่นำมาต่อเข้าด้วยกันโดยเด็ดขาด
*ขั้นตอนนี้ใช้ตัวต้านทาน 10k ต่อขนานกันแทนตัวต้านทาน 4.7k
2. ให้ใช้แรงดันไฟเลี้ยง +5V และ GND1 ให้ใช้จากบอร์ด Arduino แต่สำหรับ +9V และ GND2
ให้ใช้จากแหล่งจ่ายแรงดันควบคุม
3. เขียนโค้ด Arduino โดยสร้างสัญญาณแบบ PWM โดยใช้คำสั่ง analogWrite() เพื่อสร้างสัญญาณเอาต์พุตที่ขา D5 โดยปรับค่า Duty Cycle ของสัญญาณเอาต์พุตตามค่าที่อ่านได้จากตัวต้านทานปรับค่าได้ ซึ่งต่อเป็นอินพุตที่ขา A1
รูปวงจรที่ใช้ในการทดลอง
Code
const byte input =A1;
const byte led =5;
void setup(){
pinMode(led,OUTPUT);
analogReference(DEFAULT);
Serial.begin(9600);
}
void loop(){
int value =analogRead(input)/4;
Serial.println(value);
analogWrite(led,value);
delay(500);
}
4. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณที่ขา E ของ PC817 เทียบกับ GND2 แล้วทดลองหมุนปรับที่
ตัวต้านทานปรับค่าได้ เพื่อปรับค่า Duty Cycle เป็น 0% 25% 50% และ 100% ตามลำดับ
บันทึกรูปคลื่นสัญญาณที่ได้ในแต่ละกรณี
Duty Cycle เป็น 0%
Duty Cycle เป็น 25%
Duty Cycle เป็น 50%
Duty Cycle เป็น 100%
5. ทดลองเปลี่ยนจาก LED และตัวต้านทาน เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงขนาดเล็ก (ปรับแรงดันไฟเลี้ยงจาก +9V ให้เป็นแรงดันไฟเลี้ยงที่เหมาะสมกับมอเตอร์ไฟฟ้า +VM) โดยต่อวงจรตามรูปที่ 5.4.2 และ ทดลองปรับค่า Duty Cycle
*เมื่อปรับให้ค่าDuty Cycle ให้มากขึ้น มอเตอร์ไฟฟ้าก็จะยิ่งหมุนเร็วขึ้น