วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 4.7 การสร้างวงจรสร้างและควบคุมแรงไฟฟ้ากระแสตรงแบบปรับค่าได้

วัตถุประสงค์

  • ฝึกออกแบบและต่อวงจรสร้างและควบคุมแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงแบบปรับค่าได้ โดยใช้ไอซี
    LM317T เพื่อใช้เป็นแหล่งจ่ายให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์
รายการอุปกรณ์
  • แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)                                                1 อัน
  • ไอซี LM317T                                                                  1 ตัว
  • ตัวเก็บประจุ 0.1uF และ 10uF อย่างละ                             1 ตัว
  • ตัวต้านทานค่าคงที่ เลือกค่าในช่วง 220Ω ถึง 1kΩ           1 ตัว
  • ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบสามขา 4.7kΩ หรือ 10kΩ        1 ตัว
  • ไดโอด 1N4001 อย่างน้อย                                                1 ตัว
  • สายไฟสำหรับต่อวงจร                                                      1 ชุด
  • แหล่งจ่ายแรงดันควบคุม                                                  1 เครื่อง
  • มัลติมิเตอร์                                                                       1 เครื่อง
ขั้นตอนการทดลอง
  1. ออกแบบวงจร วาดผังวงจร และต่อวงจรบนเบรดบอร์ด เพื่อสร้างวงจรควบคุมแรงดันแบบปรับค่าได้โดยใช้ไอซี LM317T และอุปกรณ์ตามรายการที่ได้ระบุไว้ (ศึกษาตัวอย่างวงจรได้จากดาต้าชีทLM317T และจากอินเทอร์เน็ต)


  2. ใช้แรงดันจากแหล่งจ่ายภายนอก โดยป้อนแรงดัน +9V เป็นแรงดันอินพุต และปรับค่าตัวต้านทาน
    ปรับค่าได้ในวงจร ให้ได้แรงดันเอาต์พุต +5V และ +3.3V ตามลำดับ ตรวจสอบและวัดระดับแรงดันเอาต์พุตด้วยมัลติมิเตอร์
ผลการทดลอง

 รูปการต่อวงจรบนเบรดบอร์ด





ค่าที่วัดได้เมื่อปรับตัวต้านทานปรับค่าได้

 

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 4.4 สัญญาณอินพุต-แอนะล็อกและการใช้งานร่วมกับบอร์ด Arduino

วัตถุประสงค์

  • ฝึกต่อวงจรเพื่อสร้างสัญญาณแอนะล็อค และป้อนให้บอร์ด Arduino เพื่อใช้เป็นสัญญาณอินพุต
  • เขียนโปรแกรมสำหรับ Arduino เพื่อเปิด/ปิด LED ตามสภาวะแสง

วัสดุอุปกรณ์

  • แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)                                   1 อัน
  • บอร์ด Arduino (ใช้แรงดัน +5V)                         1 บอร์ด
  • ตัวต้านทานปรับค่าได้ 10kΩ หรือ 20kΩ           1 ตัว
  • ตัวต้านทานไวแสง LDR                                      1 ตัว
  • ไดโอดเปล่งแสงขนาด 5 มม.                               1 ตัว
  • ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω                           1 ตัว
  • ตัวต้านทาน 10kΩ                                               1 ตัว
  • สายไฟสำหรับต่อวงจร                                        1 ชุด
  • มัลติมิเตอร์                                                           1 เครื่อง


ขั้นตอนการทดลอง

1. ต่อวงจรตามผังวงจรในรูปที่ 4.4.1 บนเบรดบอร์ด ร่วมกับบอร์ด Arduino โดยใช้แรงดันไฟเลี้ยงVCC=+5V และ Gnd จากบอร์ด Arduino เท่านั้น (ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดก่อน จากนั้นจึงเชื่อมต่อสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตของบอร์ด Arduino เมื่อตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงป้อนแรงดันไฟเลี้ยงและ Gnd ตามลำดับ)

2. เขียนโปรแกรมตามตัวอย่างโค้ดที่กำหนดให้ และทำขั้นตอน Upload จากนั้นให้ทดลองหมุนปรับค่าที่ ตัวต้านทานปรับค่าได้ หรือปิดบริเวณส่วนรับแสงของ LDR เปิดหน้าต่าง Serial Monitor ของArduino IDE แล้วสังเกตข้อความที่ถูกส่งมาจากบอร์ด Arduinoห้องปฏิบัติการระบบสมองกลฝังตัว (ESL) / มจพ. ดร.เรวัต ศิริโภคาภิรมย์

3. ปรับแก้โค้ดตัวอย่าง เพื่อให้วงจรและบอร์ด Arduino แสดงพฤติกรรมดังนี้ ถ้าปิดส่วนรับแสงของตัวต้านทานไวแสง LDR หรือมีปริมาณแสงน้อยลง จะทำให้ LED1 “สว่าง” แต่ถ้า LDR ได้รับแสงตามสภาวะแสงปรกติ หรือได้รับปริมาณแสงมาก จะทำให้ LED1 “ไม่ติด”


4. เขียนรายงานการทดลอง ซึ่งประกอบด้วยคำอธิบายการทดลองตามขั้นตอน ผังวงจรที่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักไฟฟ้า (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการต่อวงจรบนเบรดบอร์ด โค้ด Arduino ที่ได้ทดลองจริงพร้อมคำอธิบายโค้ด/การทำงานของโปรแกรมโดยละเอียด และตอบคำถามท้ายการทดลอง


รูป4.4.1 รูปผังวงจรสำหรับต่อวงจรบนเบรดบอร์ดร่วมกับบอร์ด Arduino 

โค้ดที่ 4.4.1  โค้ดตัวอย่างสำหรับ Arduino
const byte LDR_PIN = A1; // from LDR
const byte VREF_PIN = A2; // from Trimpot
const byte LED1_PIN = 5; // to LED1
void setup() {
   pinMode( LED1_PIN, OUTPUT );
   digitalWrite( LED1_PIN, LOW );
   analogReference( DEFAULT );
   Serial.begin( 9600 ); // open serial port
}
void loop() {
   // read analog values
   int value1 = analogRead( LDR_PIN );
   int value2 = analogRead( VREF_PIN );
   // send message to serial port
   Serial.print( "Read " );
   Serial.print( value1, DEC );
   Serial.print( ", " );
   Serial.println( value2, DEC );
   delay( 200 );
}

แก้ไขโค้ดเพื่อทำตามโจทย์ ข้อ 3
const byte LDR_PIN = A1; // from LDR
const byte VREF_PIN = A2; // from Trimpot
const byte LED1_PIN = 5; // to LED1
void setup() {
   pinMode( LED1_PIN, OUTPUT );
   digitalWrite( LED1_PIN, LOW );
   analogReference( DEFAULT );
   Serial.begin( 9600 ); // open serial port
}
void loop() {
   int value1 = analogRead( LDR_PIN );
   int value2 = analogRead( VREF_PIN );
   if(value1<750){
      digitalWrite( LED1_PIN, HIGH );
   }
   else{
      digitalWrite( LED1_PIN, LOW );
   }
}


คำถามท้ายการทดลอง

1. ค่าที่ได้ (เลขจำนวนเต็ม) จากบอร์ด Arduino สำหรับสัญญาณอินพุตที่ขา A1 มีค่าอยู่ในช่วงใด(ต่ำสุด-สูงสุด)

ตอบ 359 - 996

2. จะต้องปรับแก้โค้ดอย่างไรสำหรับบอร์ด Arduino ถ้าจะทำให้ LED1 มีความสว่างมากน้อยได้ตามปริมาณแสงที่ได้รับ เช่น ถ้า LDR ได้แสงสว่างน้อย จะทำให้ LED1 สว่างมาก แต่ถ้า LDR ได้แสงสว่างมาก จะทำให้ LED1สว่างน้อย หรือไม่ติดเลย
ตอบ

const byte LDR_PIN = A1; // from LDR
const byte VREF_PIN = A2; // from Trimpot
const byte LED1_PIN = 5; // to LED1
void setup() {
   pinMode( LED1_PIN, OUTPUT );
   digitalWrite( LED1_PIN, LOW );
   analogReference( DEFAULT );
   Serial.begin( 9600 ); // open serial port
}
void loop() {
   int value1 = analogRead( LDR_PIN );
   int value2 = analogRead( VREF_PIN );
   int light = (1023-value1)*255/1023 ;
   analogWrite( LED1_PIN, light);
}


วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 4.2 การต่อวงจรสำหรับเปรียบเทียบช่วงแรงดัน

วัตถุประสงค์

1. ฝึกต่อวงจรโดยใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้และไอซี LM393N
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวิธีการต่อวงจร LM393N
3. เพื่อต่อวงจรโดยใช้ไอซี LM393N ที่มีตัวเปรียบเทียบแรงดันสองตัว เพื่อเปรียบเทียบแรงดันอินพุตกับแรงดันอ้างอิงโดยแบ่งเป็นสองระดับ

วัสดุอุปกรณ์

  1. แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)                                                             1  อัน
  2. ไอซีเปรียบเทียบแรงดัน เบอร์ LM393N                                       1  ตัว
  3. ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบ 3 ขา ขนาด 10kOhm หรือ 20kOhm   1  ตัว
  4. ตัวต้านทาน 10kOhm                                                                    4  ตัว
  5. ตัวต้านทาน 330Ohm หรือ 470Ohm                                             1  ตัว
  6. ไดโอดเปล่งแสงขนาด 5 มม.                                                        1  ตัว
  7. สายไฟสำหรับต่อวงจร                                                                  1  ชุด
  8. มัลติมิเตอร์                                                                                    1  เครื่อง
  9. แหล่งจ่ายควบคุมแรงดัน                                                               1  ชุด
  10. เครื่องกำเนิดสัญญาณ                                                                   1  เครื่อง
  11. ออสซิลโลสโคปแบบดิจิทัล                                                          1  เครื่อง

ขั้นตอนการทดลอง 
  1. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด โดยใช้ไอซี LM393N ตามผังวงจรในรูปที่ 4.2.1 และป้อนแรงดันไฟเลี้ยง VCC = +5V และ Gnd จากแหล่งจ่ายควบคุมแรงดัน
  2. ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดัน V1 และ V2 เทียบกับ Gnd ของวงจร ตามลำดับ แล้วจดบันทึกค่าที่ได้
  3. สร้างสัญญาณแบบสามเหลี่ยม (Triangular Wave) ให้อยู่ในช่วงแรงดัน 0V ถึง 5V โดยใช้เครื่องกำเนิดสัญญาณ (Function Generator) โดยกำหนดให้ Vpp = 5V (Peak-to-Peak Voltage) และแรงดัน Offset = 2.5V และความถี่ f = 1kHz เพื่อใช้เป็นสัญญาณอินพุต Vin สำหรับวงจร
  4. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณ โดยใช้ช่อง A สำหรับวัดสัญญาณที่มาจากเครื่องกำเนิดสัญญาณ (Vin) และช่อง B สำหรับวัดสัญญาณเอาต์พุตที่ขาหมายเลข 1 (V3) ของตัวเปรียบเทียบแรงดัน (บันทึกภาพที่ได้จากออสซิลโลสโคป เพื่อใช้ประกอบการเขียนรายงานการทดลอง)
  5. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณ โดยใช้ช่อง A สำหรับวัดสัญญาณที่มาจากเครื่องกำเนิดสัญญาณ (Vin) และช่อง B สำหรับวัดสัญญาณเอาต์พุตที่ขาหมายเลข 7 (V4) ของตัวเปรียบเทียบแรงดัน (บันทึกภาพที่ได้จากออสซิลโลสโคป เพื่อใช้ประกอบการเขียนรายงานการทดลอง)
  6. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด ตามผังวงจรในรูปที่ 4.2.2 โดยตัวต้านทานปรับค่าได้ขนาด 10kOhm หรือ 20kOhm
  7. ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดัน Vin ทดลองหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ แล้วสังเกตสถานะของการติด/ดับของ LED1 ให้จดบันทึกค่าแรงดัน Vin ที่ทำให้ LED1 เกิดการเปลี่ยนสถานะติด/ดับ
  8. เขียนรายงานการทดลอง ซึ่งประกอบด้วยคำอธิบายการทดลองตามขั้นตอน ผังวงจรที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักไฟฟ้า (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการต่อวงจรบนเบรดบอร์ด รูปคลื่นสัญญาณที่วัดได้จากออสซิลโลสโคปตามโจทย์การทดลอง และตอบคำถามท้ายการทดลอง 


รูปการต่อวงจร(4.2.1)


-------------------------------------------------------------


 รูปสัญญาณเอาต์พุตที่ขาหมายเลข 1 (V3)
-------------------------------------------------------------


 รูปสัญญาณเอาต์พุตที่ขาหมายเลข 7 (V4)

-------------------------------------------------------------



รูปการต่อวงจร(4.2.2)



-------------------------------------------------------------

คำถามท้ายการทดลอง
1. แรงดัน V1 และ V2 มีค่าประมาณ 1.695 โวลต์ ถึง 3.364 โวลต์ ตามลำดับ
2. แรงดัน Vin จะต้องมีค่าอยู่ในช่วง 3.4 ถึง 5 โวลต์และ 200m ถึง 3.2 โวลต์ จึงจะทำให้แรงดัน V3 ที่ขาหมายเลข 1 ของ LM393N (วงจรในรูปที่ 4.2.1) ได้ลอจิก LOW และ HIGH ตามลำดับ
3. แรงดัน Vin จะต้องมีค่าอยู่ในช่วง 1.64 ถึง 200m โวลต์และ 4.96 ถึง 1.64 โวลต์ จึงจะทำให้แรงดัน V4 ที่ขาหมายเลข 1 ของ LM393N (วงจรในรูปที่ 4.2.1) ได้ลอจิก LOW และ HIGH ตามลำดับ
4. แรงดัน Vin ที่ได้จากการหมุนปรับค่าของตัวต้านทานปรับค่าได้ จะต้องมีค่าอยู่ในช่วงใด จึงจะทำให้ LED1 สว่าง
ตอบ อยู่ในช่วง 0v - 1.65โวลต์ และ 3.39v - 5v 


วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 3.4 การสร้างสัญญาณเอาต์พุตตามจังหวะสัญญาณอินพุตด้วย Arduino

วัตถุประสงค์

  1. สร้างสัญญาณจากเครื่องกำเนิดสัญญาณดิจิดัลแบบมีคาบ เพื่อป้อนเป็นอินพุตให้บอร์ด Arduino
  2. ฝึกทักษะในการเขียนโปรแกรม สำหรับบอร์ด Arduino เพื่อประมวลผลสัญญาณดิจิทัลจากอินพุต และสร้างสัญญาณเอาต์พุตตามเงื่อนไขที่กำหนดให้

รายการอุปกรณ์
          1. แผงวงจร(เบรดบอร์ด)                            1 อัน
          2. บอร์ด Arduino(ใช้แรงดัน +5V)               1 บอร์ด
          3. ตัวต้านทาน 100Ω หรือ 150Ω                 1 ตัว
          4. ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω                 1 ตัว
          5. ไดโอดเปล่งแสงขนาด 5 มม.                   1 ตัว
          6. สายไฟสำหรับต่อวงจร                            1 ชุด
          7. เครื่องกำเนิดสัญญาณดิจิทัล                    1 เครื่อง
          8. ออสซิลโลสโคป                                     1 เครื่อง

ขั้นตอนการทดลอง

  1. สร้างสัญญาณดิจิทัลแบบมีคาบ (แรงดันในช่วง 0V และ 5V เท่านั้น ห้ามใช้แรงดันสูงกว่า หรือแรงดันเป็นลบ)มีรูปคลื่นสี่เหลี่ยม หรือแบบ Pulse (Duty Cycle=50%) มีความถี่10Hz จากเครื่องกำเนิดสัญญาณ โดยต่อผ่านตัวต้านทาน 100Ω หรือ 150Ω ไปยังขา D3 ของบอร์ด Arduino เพื่อใช้เป็นอินพุต
  2. ต่อวงจร LED พร้อมตัวต้านทานจำกัดกระแส ที่ขา D5 ของบอร์ด Arduino เพื่อใช้แสดงสถานะ
  3. เขียนโค้ด Arduino Sketch เพื่อทำให้หลอด LED บนแผงวงจร กระพริบตามความถี่ของสัญญาณอินพุต(อัตราการกระพริบของ LED จะต้องสอดคล้องกับความถี่ของสัญญาณอินพุต)
  4. ปรับความถี่ของสัญญาณอินพุต ในช่วง 5Hz…20Hz(เพิ่มทีละ 5Hz)และใช้ออสซิลโลสโคป 2 ช่อง วัดสัญญาณอินพุตที่ขา D3 และสัญญาณเอาต์พุตที่ขา D5 พร้อมกัน และบันทึกรูปคลื่นสัญญาณทีได้สำหรับความถี่ต่างๆในการทดลอง
  5. เขียนรายงานการทดลอง(เขียนโจทย์ แนวทางการทำโจทย์ ผังวงจรโดยรวมซึ่งใช้โปรแกรม Eagle ในการวาดและ โค้ด Arduino Sketch พร้อมคำอธิบายโค้ด รูปตัวอย่างที่ได้จากการวัดสัญญาณและภาพถ่ายการต่อทดลองวงจรจริง ) จัดทำเป็นไฟล์ .PDF ขนาด A4 ส่งในระบบ e-learning ของภาควิชา


    *เนื่องจากการทดลองนี้ ไม่สามารถหาตัวต้านทาน ค่า 100Ω หรือ 150Ω ได้ จึงได้นำ ตัวต้านทาน330Ω จำนวน 2 ตัว ต่อขนาดกัน จึงได้ค่าประมาณ 165 Ω  ตามทฤษฎี*


โค้ดโปรแกรม

const byte digitalPin=3;  //กำหนดให้ตัวแปรเก็บค่า เลขของขาdigital ของ Arduino
const byte LED=5 ;
void setup() {
  pinMode(digitalPin,INPUT);  //กำหนดให้ขา D3 เป็นขา input โดยรับขาเข้ามาจาก function generator
  pinMode(LED,OUTPUT);     //กำหนดให้ขาD5 เป็นขา OUTPUT ซึ่งเป็น LED
}
void loop() {
 if(digitalRead(digitalPin)==HIGH){    //ตรวจสอบค่าที่ได้จาก Function Generator ถ้าหาก digitalRead(digitalPin)  = HIGH ไฟจะติด 
  digitalWrite(LED,HIGH);   
 }
 else digitalWrite(LED,LOW);   ถ้าหาก digitalRead(digitalPin)  = LOW ไฟจะดับ 
}
//จากเงื่อนไขด้านบนทำให้LED เกิดการกระพริบ
รูปคลื่นสัญญาณ 

เส้นคลื่นสีเหลือง แทน สัญญาณ OUTPUT

เส้นคลื่นสีฟ้า แทน สัญญาณ INPUT


5 HZ


10 Hz


15 Hz


20 Hz

เมื่อความถี่มากขึ้น LED จะกระพริบถี่ขึ้น


การทดลองที่ 3.3 การจำลองการทำงานของลอจิกเกต

วัตถุประสงค์
  1. ฝึกต่อวงจรโดยใช้ใช้ไอซี 74HCT00N เพื่อสร้างเป็นวงจร RS Latch
  2. ฝึกเขียนโปรแกรมสำหรับ Arduino เพื่อเลียนแบบการทำงานของ RS Latch     
รายการอุปกรณ์
         1.แผงวงจร(เบรดบอร์ด)                               1 อัน
         2.บอร์ด Arduino(ใช้แรงดัน +5V)                  1 บอร์ด
         3. ไอซี 74HCT00N                                     1 ตัว
         4.ไดโอดเปล่งแสงขนาด 5 มม.                     2 ตัว
         5.ปุ่มกดแบบสี่ขา                                         2 ตัว
         6.ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω                     2 ตัว
         7.ตัวต้านทาน 10kΩ                                     2 ตัว
         8.สายไฟสำหรับต่อวงจร                               1 ชุด
         9.แหล่งจ่ายควบคุมแรงดัน                            1 ชุด
       10.มัลติมิเตอร์                                               1 เครื่อง

ขั้นตอนการทดลอง

  1. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด โดยใช้ไอซี 74HCT00N เพื่อสร้างลอจิกเกต RS Latch ตามผังวงจรในรูปที่ 3.3.1 และป้อนแรงดันไฟเลี้ยง Vcc=5V และ GND จากแหล่งจ่ายควบคุมแรงดัน ให้ไอซีและวงจรบนเบรดบอร์ด
  2. กำหนดสถานะของสัญญาณอินพุต A และ B ทั้งหมด 4 กรณี โดยการกดปุ่มค้างไว้(LOW)หรือไม่ กดปุ่ม(HIGH) ตามตารางที่ 3.3.1 ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดันของสัญญาณ Q และ/Q รวมถึงสังเกตสถานะติด/ดับของ LED ทั้งสอง สำหรับแต่ละกรณีของอินพุต แล้วบันทึกผลที่ลงในตาราง
  3. ต่อวงจรตามผังวงจรในรูปที่ 3.3.2 โดยใช้บอร์ด Arduino ปุ่มกดแบบสี่ขา ไดโอดเปล่งแสง และตัวต้านทาน และให้เขียนโปรแกรมสำหรับ Arduino เพื่อเลียนแบบพฤติกรรมการทำงานของ RS Latch (ความสัมพันธ์ระหว่างอินพุตและเอาต์พุต) ตามที่โจทย์การทดลองในข้อที่ 2

รูปที่ 3.3.1 :ผังวงจรสำหรับสร้าง RS Latch โดยใช้เกต NAND2


             กรณีที่1 ไม่กดปุ่ม                                                                  กรณีที่2 กดปุ่ม S2


           กรณีที่3กดปุ่ม S1                                                                กรณีที่4กดปุ่ม S1 และ S2






รูปที่ 3.3.2 : ผังวงจรสำหรับใฃ้บอร์ด Arduino เลียนแบบการทำงานของ RS Latch


โค้ด Arduino

const byte S1 = 2;   //กำหนดให้ตัวแปรเก็บค่า เลขของขาdigital ของ Arduino
const byte S2 = 3;
const byte LED[2] = {4, 5};

void setup(){
  pinMode(S1, INPUT);   //กำหนดให้ขา D2 เป็นขา input โดยรับค่าเข้ามาจาก ปุ่มกดที่1
  pinMode(S2, INPUT);   //กำหนดให้ขา D3 เป็นขา input โดยรับค่าเข้ามาจาก ปุ่มกดที่2
  for (int i = 0 ; i < 2 ; i++) {
    pinMode(LED[i], OUTPUT) ;  //กำหนดให้ขา D4-D5 เป็นขา OUTPUT ซึ่งเป็น LED1 และ 2
   }
   digitalWrite(LED[0], HIGH);   //กำหนดให้เมื่อเริ่มต้น ให้LEDตัวที่ 1 ไฟติด

}

void loop(){
  contal(digitalRead(S1),digitalRead(S2) ); //เรียกใช้ฟังก์ชัน contal โดยส่งค่าที่ อ่านได้จากปุ่มกด S1และS2
}
void contal(int buttonStat1, int buttonStat2) {
   
  if ( buttonStat2 == LOW) {   //กรณีกดปุ่มที่2
    if( buttonStat1==LOW){         //กรณีกดปุ่มทั่ง2ปุ่ม
     digitalWrite(LED[0], HIGH);    //LEDตัวที่ 1 ไฟติด
     digitalWrite(LED[1], HIGH);    //LEDตัวที่ 2 ไฟติด
    } 
    else{    
    digitalWrite(LED[0], LOW);    //LEDตัวที่ 1 ไฟดับ
    digitalWrite(LED[1], HIGH);   //LEDตัวที่ 2 ไฟติด 
    }  
  }
     //กรณีกดปุ่มที่1
  if ( buttonStat1 == LOW) {
    digitalWrite(LED[0], HIGH);   //LEDตัวที่ 1 ไฟติด
    digitalWrite(LED[1], LOW);    //LEDตัวที่ 2 ไฟดับ
  }
}

          กรณีที่ ไม่กดปุ่ม                                                              กรณีที่กดปุ่ม S2 

   
  กรณีที่กดปุ่ม S1                                                                     กรณีที่กดปุ่ม S1 และ S2